1. หลักเกณฑ์การให้เงินกู้ฉุกเฉิน
1. สมาชิกผู้กู้คนหนึ่ง มีสิทธิกู้ได้ไม่เกิน 4 เท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 200,000.00 บาท และไม่เกินมูลค่าหุ้นที่มีอยู่กับสหกรณ์
2. อายุการเป็นสมาชิกสำหรับการพิจารณาคำขอกู้เงินฉุกเฉิน
2.1 เป็นสมาชิกต่ำกว่า 4 เดือน กู้ได้ไม่เกิน 4 เท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 100,000.00 บาท
2.2 เป็นสมาชิก 4 เดือนขึ้นไป กู้ได้ไม่เกิน 4 เท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 200,000.00 บาท
3. กรณีมีหนี้เก่าจะต้องผ่อนชำระมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 งวด จึงจะสามารถกู้ใหม่ได้
4. ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่เกิน 12 งวด
(โดยผ่อนชำระคืนเงินต้นเท่ากันทุกเดือนดอกเบี้ยต่างหาก)
2. หลักเกณฑ์การให้เงินกู้สามัญเพื่อการทั่วไป
สมาชิกผู้กู้คนหนึ่ง มีสิทธิกู้ได้ 50 เท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 5,000,000.00 บาท
5. การให้เงินกู้แก่สมาชิกที่ยังมีหนี้สินค้างชำระครั้งก่อนผูกพันกับงวดชำระหนี้ดังนี้
- เงินกู้ไม่เกิน 500,000.00 บาท ต้องผ่อนมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 งวด ติดต่อกัน
- เงินกู้มากกว่า 500,000.00 บาท ต้องผ่อนมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 งวด ติดต่อกัน
6. การขอกู้กรณีต้องเพิ่มค่าหุ้นสะสม
- ต้องผ่อนชำระมาแล้ว 12 งวดติดต่อกัน จึงจะสามารถชำระคืนเงินกู้ทั้งหมดได้
- หากชำระคืนก่อน 12 งวด จะต้องเสียค่าปรับตามที่สหกรณ์เสียผลประโยชน์
- ยกเว้น การขอกู้ใหม่เพื่อเพิ่มวงเงินกู้
1. คณะอนุกรรมการเงินกู้สามัญ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
2. กรณีนอกเหนือจากข้อปฎิบัติ ให้นำเสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุมัติ
- กำหนดรับคำขอกู้ ภายในวันที่ 10 และ 20 ของเดือน
(โดยผ่อนชำระคืนเงินต้นเท่ากันทุกเดือนดอกเบี้ยต่างหาก)
- กำหนดรับคำขอกู้ ภายในวันที่ 10 และ 20 ของเดือน
(โดยผ่อนชำระคืนเงินต้นเท่ากันทุกเดือนดอกเบี้ยต่างหาก)
3. หลักเกณฑ์การให้เงินกู้สามัญเพื่อยานพาหนะ
1.1 เป็นสมาชิกตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
2.1 กู้ได้ไม่เกิน 100% ของราคาซื้อขาย โดยไม่มีวงเงินกู้ขั้นต่ำแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 4,000,000.00 บาท
2.2 ต้องมีค่าหุ้นสะสม 10% ของวงเงินกู้
2.3 ผู้กู้ต้องประกันภัยรถยนต์ประเภทหนึ่งทุกปี โดยระบุชื่อในกรมธรรม์ให้สหกรณ์เป็นผู้รับผลประโยชน์ ตลอดอายุของสัญญา
2.4 ผู้กู้ต้องส่งมอบสมุดคู่มือการจดทะเบียนยานพาหนะให้แก่สหกรณ์ฯภายใน30วันนับตั้งแต่วันซื้อ
2.5 ต้องมีบุคคลค้ำประกันไม่น้อยกว่า 2 คน
2.6 ระยะเวลาการผ่อนชำระ ไม่เกิน 96 งวด หรือ 8 ปี
(โดยผ่อนชำระคืนเงินต้นบวกดอกเบี้ยเท่ากันทุกเดือน)
3. สิทธิของผู้กู้และเงื่อนไข (สำหรับรถยนต์มือสอง)
3.1 กู้ได้ไม่เกิน 100% ของราคาซื้อขาย โดยไม่มีวงเงินกู้ขั้นต่ำแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 2,000,000.00 บาท
3.2 ค่าหุ้นสะสม 10% ของวงเงินกู้
3.3 รถยนต์ต้องมีอายุการใช้งานมาแล้วไม่เกิน 5 ปี นับจากวันจดทะเบียน
3.4 ผู้กู้ต้องประกันภัยรถยนต์ประเภทหนึ่งทุกปี โดยระบุชื่อในกรมธรรม์ให้สหกรณ์เป็นผู้รับผลประโยชน์ ตลอดอายุของสัญญา
3.5 ผู้กู้ต้องส่งมอบสมุดคู่มือการจดทะเบียนยานพาหนะให้แก่สหกรณ์ฯภายใน30วันนับตั้งแต่วันซื้อ
3.6 ระยะเวลาการผ่อนชำระ ไม่เกิน 60 งวด หรือ 5 ปี
(โดยผ่อนชำระคืนเงินต้นบวกดอกเบี้ยเท่ากันทุกเดือน)
3.7 ต้องมีบุคคลค้ำประกันไม่น้อยกว่า 1 คน
4. หลักเกณฑ์การให้เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะสงเคราะห์
1.1 เป็นสมาชิกตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
2.1การกู้เพื่อซื้อบ้านพร้อมที่ดิน /คอนโด
2.1.1 กู้ได้ไม่เกิน 100% ของราคาประเมิน หรือของมูลค่าราคาซื้อขายจากโครงการ
อสังหาริมทรัพย์ของสมาชิกและคู่สมรส โดยไม่มีวงเงินกู้ขั้นต่ำ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 20,000,000.00 บาท (ยี่สิบล้านบาทถ้วน)
2.1.2 ผู้กู้ต้องประกันอัคคีภัยสำหรับตัวอาคาร โดยระบุชื่อในกรมธรรม์ให้สหกรณ์ฯ
เป็นผู้รับผลประโยชน์
2.1.3 ผู้กู้ต้องทำนิติกรรมจำนอง และไม่ต้องมีบุคคลค้ำประกัน
2.1.4 ระยะเวลาการผ่อนชำระ ไม่เกิน 360 งวด (30ปี) แต่อายุของผู้กู้รวมกับจำนวนปีที่
ผ่อนชำระต้องไม่เกิน 70 ปี
(โดยผ่อนชำระคืนเงินต้นบวกดอกเบี้ยเท่ากันทุกเดือน)
2.2 การกู้เพื่อซื้อที่ดิน
2.2.1 กู้ได้ไม่เกิน 90% ของราคาประเมิน หรือ ราคาซื้อขายจากโครงการ
อสังหาริมทรัพย์ของสมาชิกและคู่สมรส โดยไม่มีวงเงินกู้ขั้นต่ำ
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 20,000,000.00 บาท (ยี่สิบล้านบาทถ้วน) หรือ
2.2.2 ผู้กู้ต้องทำนิติกรรมจำนอง และไม่ต้องมีบุคคลค้ำประกัน
2.2.3 ระยะเวลาการผ่อนชำระ ไม่เกิน 360 งวด (30ปี) แต่อายุของผู้กู้รวมกับ
จำนวนปีที่ผ่อนชำระต้องไม่เกิน 70 ปี
(โดยผ่อนชำระคืนเงินต้นบวกดอกเบี้ยเท่ากันทุกเดือน)
2.3 การกู้เพื่อปลูกสร้างหรือต่อเติมที่อยู่อาศัย
2.3.1 พิจารณาให้เงินกู้ตามมูลค่าการปลูกสร้างหรือต่อเติม ซึ่งผู้ขอกู้จะต้องยื่นแบบแปลน
พร้อมรายละเอียดสัญญาการปลูกสร้างหรือต่อเติม และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อประกอบการพิจารณา
2.3.2 ระยะเวลาการผ่อนชำระ ไม่เกิน 360 งวด (30ปี) แต่อายุของผู้กู้รวมกับ
จำนวนปีที่ผ่อนชำระต้องไม่เกิน 70 ปี
(โดยผ่อนชำระคืนเงินต้นบวกดอกเบี้ยเท่ากันทุกเดือน)
2.4 การกู้เพื่อไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงิน
2.4.1 พิจารณาให้เงินกู้ตามจำนวนหนี้เงินกู้ที่ค้างชำระกับสถาบันการเงิน ณ วันที่ยื่นคำขอกู้
2.4.2 ระยะเวลาการผ่อนชำระ ไม่เกิน 360 งวด (30ปี) แต่อายุของผู้กู้รวมกับ
จำนวนปีที่ผ่อนชำระต้องไม่เกิน 70 ปี
(โดยผ่อนชำระคืนเงินต้นบวกดอกเบี้ยเท่ากันทุกเดือน)
5. หลักเกณฑ์การให้เงินกู้พิเศษเพื่อการอื่นใด
1.1 เป็นสมาชิกตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
2.1 วงเงินกู้ไม่กำหนดวงเงินกู้ขั้นต่ำ แต่วงเงินสูงสุดไม่เกิน 10,000,000.00 บาท
2.2 พิจารณาให้กู้ได้ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ของสมาชิกหรือคู่สมรสที่นำมาค้ำประกันหรือ 100% ของราคาประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลในครอบครัวที่นำมาค้ำประกัน
2.3 เป็นการกู้เงินที่มีวัตถุประสงค์ที่นอกเหนือจากเงินกู้พิเศษเพื่อเคหสงเคราะห์
2.4 ผู้ขอกู้ได้ส่งรายละเอียดชี้แจงเหตุผลประกอบการขอกู้
2.5 หลักทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันต้องปลอดภาระจำนอง และภาระติดพันอื่น ๆ
2.6 ผู้กู้ต้องทำนิติกรรมจำนอง และไม่ต้องมีบุคคลค้ำประกัน
(โดยผ่อนชำระคืนเงินต้นบวกดอกเบี้ยเท่ากันทุกเดือน)
6. หลักเกณฑ์การตีราคาหลักทรัพย์ การทำประกันอัคคีภัย และการให้สิทธิกู้เงินพิเศษ
1.1 กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นการได้มาโดยการซื้อขายจากโครงการที่ดำเนินการพัฒนาหรือจัดสรร และมีการดำเนินการอยู่ ณ วันที่ยื่นคำขอกู้
- พิจารณาให้เงินกู้ได้ไม่เกิน100%ของมูลค่าราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของสมาชิก หรือ คู่สมรส
- พิจารณาให้เงินกู้ได้ไม่เกิน 100% ของมูลค่าราคาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลในครอบครัว
1.2 กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นการได้มาโดยการซื้อขาย หรือมอบให้จากบุคคลทั่วไป
- พิจารณาให้เงินกู้ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ของสมาชิก หรือ คู่สมรส ที่คนกลางเป็นผู้ประเมิน โดยผู้กู้ต้องชำระค่าประเมินเอง หรือ
- พิจารณาให้เงินกู้ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลในครอบครัวที่คนกลางเป็นผู้ประเมิน โดยผู้กู้ต้องชำระค่าประเมินเอง
1.3 สำหรับเกณฑ์การเลือกคนกลางที่จะทำการประเมินราคา จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเงินกู้พิเศษของสหกรณ์
2.1 สมาชิกสามารถใช้สิทธิในการกู้เงินพิเศษเพื่อเคหะสงเคราะห์ได้เพียงครั้งแรกครั้งเดียว
2.2 หากสมาชิกต้องการใช้สิทธิเกินจากหนึ่งครั้งให้จัดเป็นการกู้เงินพิเศษสัญญาที่ 2 และ เสียดอกเบี้ยมากกว่าอัตราเงินกู้พิเศษเพื่อเคหะ 1.00%
3.1 การประกันอัคคีภัยสำหรับตัวอาคารที่นำมาจำนองเป็นประกันร่วมด้วย ในวงเงินขั้นต่ำไม่น้อยกว่ามูลค่าที่แตกต่างระหว่างราคาที่ดินที่ประเมิน ณ วันที่ให้กู้
3.2 ผู้กู้ต้องมอบให้สหกรณ์เป็นผู้รับผลประโยชน์จากการเอาประกันอัคคีภัย
3.3 เมื่อมีเหตุต้องรับประโยชน์จากการประกันตัวอาคาร สหกรณ์จะนำเงินส่วนที่ได้มาชำระคืนเงินกู้ที่ค้างอยู่ และส่วนที่เกินมูลค่าหนี้คงเหลือจะจ่ายคืนให้แก่สมาชิกหรือทายาท
แนวทางการสำรวจหลักทรัพย์ประกันเงินกู้พิเศษ
- ตรวจสอบหลักฐานการซื้อขายจากโครงการ พร้อมแบบแปลน
- กรณีสิ่งปลูกสร้าง ให้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของการก่อสร้างพร้อมภาพถ่าย
- สหกรณ์จ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับกรรมการตามระเบียบสหกรณ์ ในส่วนที่เกิน 1 ครั้ง
- ตรวจสอบหมายเลขหมุดที่ดินให้ตรงตามโฉนด หรือ น.ส. 3 ก
- กรณีมีหลักฐานอย่างอื่นพอเชื่อถือได้ เป็นเขตที่ดินชัดเจน และมีหลักมุดแสดงเขตตั้งแต่ 2 หมุดขึ้นไป ก็ให้อนุโลมได้ โดยให้ผู้กู้ดำเนินการสอบเขตให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันทำนิติกรรมจำนอง
- ให้สหกรณ์จ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับกรรมการตามระเบียบของสหกรณ์ ในส่วนที่เกิน 2 ครั้ง
- ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ผู้กู้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น
- กรณีมีสิ่งปลูกสร้างในที่ดินด้วย ต้องให้บริษัทประเมินหลักทรัพย์ประกอบการกู้ยืม โดยผู้กู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น
- ตรวจสอบหลักทรัพย์ที่จะไถ่ถอนจำนอง โดยดูหลักฐานตามข้อ 1 หรือ ข้อ 2 แล้วแต่กรณี
- ผู้ไถ่ถอนเสียค่าใช้จ่ายสำหรับกรรมการตามระเบียบของสหกรณ์ ทุกกรณี
- ผู้ไถ่ถอนมีสิทธิ์กู้ได้ตามยอดเงินที่ค้างชำระกับสถาบันการเงินอื่น
4. กรณีใช้บริษัทประเมินหลักทรัพย์
- ค่าธรรมเนียมดำเนินการ ขึ้นอยู่กับบริษัท
- ผู้กู้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น
- สหกรณ์ให้กู้ในวงเงิน 100% ของราคาประเมินจากบริษัทประเมิณ
- หากมีข้อสงสัย ให้กรรมการไปตรวจสอบ โดยสหกรณ์ออกค่าใช้จ่ายตามระเบียบเป็นกรณีๆ ไป
5. กรณีซื้อจากการขายทอดตลาด
– ผู้กู้ต้องให้บริษัทประเมินหลักทรัพย์ประเมินราคาตามข้อ 4 แนบมาพร้อมคำขอกู้
*หลักเกณฑ์การคำนวณเงินได้ของการให้เงินกู้*
1. การคำนวนเงินได้รายเดือน
1.1 เงินเดือน 100%
1.2 ค่าเบี้ยต่างจังหวัด 100%
1.3 ค่าปฏิบัติงานกะ 100%
1.4 ค่าที่พัก(ค่าเช่าบ้าน) 100%
1.5 ค่าเข้าเวร 100%
1.6 ค่าจ้างประจำอื่นๆ 100%
2. จำนวนเงินเหลือใช้ต่อเดือน
- ต้องมีเงินเหลือใช้ต่อเดือน30% ของเงินเดือน(ข้อ1.)หรือไม่น้อยกว่า 6,000.00 บาท
3. กรณีการให้กู้เงินสามัญที่นอกเหนือระเบียบและข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้ ให้นำเสนอ
คณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณา โดยพิจารณาจากเหตุผลที่สำคัญในการขอกู้เงินดังนี้
1. เกี่ยวกับการเจ็บป่วยของสมาชิกและบุคคลในครอบครัว
2. เพื่อการป้องกันความเสียหายหรือสูญเสียทรัพย์สินของผู้กู้อย่างร้ายแรง
3. เกี่ยวกับคดีความ
4. เกี่ยวกับภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ
*การชำระหนี้เงินกู้ของสหกรณ์*
1. นำเงินโอนเข้าบัญชีของสหกรณ์ ซึ่งมี 3 สาขา ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ประเภทบัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี “สหกรณ์ออมทรัพย์ธุรกิจก๊าซ ปตท. จำกัด”
- สาขาชลบุรี เลขที่บัญชี 207-1-06662-6
- สาขามาบตาพุด เลขที่บัญชี 234-1-07512-6
- สาขา ปตท. เลขที่บัญชี 071-1-00302-5
***เมื่อโอนเงินเข้าบัญชีต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ธนาคารพิมพ์ชื่อสมาชิกและเลขที่สมาชิกลงในระบบการรับฝากเงินของธนาคารด้วย หากดำเนินการโอนเงินเรียบร้อยแล้ว จะต้องโทรแจ้งหรือ Email เอกสารการโอนเงินให้สหกรณ์ทราบภายในวันที่ดำเนินการทุกครั้ง***
2. กำหนดการชำระหนี้ ภายในสิ้นเดือนก่อนถึงเดือนถัดไป